ลงทะเบียนประชุมวิชาการ
หลักการและเหตุผล
การตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการ ( process validation ) เป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญทผู้ผลิตยา ต้องดำเนินการตาม GMP ซึ่งรายละเอียดกำหนดไว้ในภาคผนวก 14 การตรวจรับรองและการตรวจสอบความถูกต้อง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบันและแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ.2559 หรือ PIC/S GMP annex 15 ( qualification and validation ) การตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการประยุกต์ใช้กับการผลิตยารูปแบบต่าง ๆ โดยครอบคลุมถึงกระบวนการใหม่ กระบวนการที่มีการดัดแปลงภายหลัง และกระบวนการที่ดำเนินการอยู่ โดยต้องพิสูจน์ว่ากระบวนการผลิตนั้น ลักษณะเชิงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ( quality attribute ) และพารามิเตอร์ของกระบวนการ ( process parameters ) ยังคงอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์
การตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการอาจดำเนินการในรูปแบบดั้งเดิม ( traditional process validation ) แบบการตรวจสอบยืนยันกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ( continuous process verification ) และแบบลูกผสม ( hybrid ) ไม่ว่าจะใช้การตรวจสอบกระบวนการในรูปแบบไหนก็ตาม ต้องตรวจสอบยืนยันกระบวนการที่ดำเนินอยู่ระหว่างวงจรชีวิต ( ongoing process verification during lifecycle ) เพื่อตรวจติดตาม ( monitor ) คุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มั่นใจว่า สถานะการควบคุมยังคงรักษาไว้ตลอดช่วงของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ด้วยการประเมินแนวโน้มของกระบวนการที่เกี่ยวข้อง
การจะบรรลุสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการ และมีความสเถียรภาพของกระบวนอย่างสม่ำเสมอ ผู้ผลิตต้องมีองค์ประกอบเรื่องความรู้ ความเข้าใจใน ข้อกำหนดกระบวนการผลิต คุณภาพผลิตภัณฑ์ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการความเสี่ยงด้านคุณภาพ การวิเคราะห์แนวโน้มของกระบวนการ และที่สำคัญที่ต้องตระหนักคือการทำงานและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานต้องร่วมมือกันให้เกิดสำเร็จในการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
· เพื่อเรียนรู้และเข้าใจข้อกำหนดของการตรวจสอบความถูกต้อง
· เพื่อเรียนรู้และเข้าใจกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การกำหนดและควบคุม CQA และ CPP
· เพื่อเรียนรู้การประยุกต์ใช้หลักการ QRM ในการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการ
· เพื่อเรียนรู้และประยุกต์ใช้การวิเคราะห์แนวโน้มของกระบวนการ เพื่อปรับปรุงแก้ไขกระบวนการได้ท่วงทันเวลา
· เพื่อเรียนรู้และเข้าใจการทำงานร่วมกันของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
· เพื่อเรียนรู้และประยุกต์ใช้ ongoing process verification during lifecycle
วิทยากร :
- ภญ. วิไล กวีวงค์วรนันท. ผู้อำนวยการส่วนงานประกันคุณภาพ บริษัท สยามเภสัช จำกัด
- ดร. ภญ. นภาสินี อักษรแก้ว Chief of formulation development, Pharma Neuva Co.,Ltd.
- ภญ. รุ่งนภา อัมรินทร์นุเคราะห์ บริษัท อินแพค ฟาร์มา จำกัด
- ภญ.ฉวีวรรณ บุญเต็ม หัวหน้าแผนกผลิต บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด
- ภญ. สิริวรรณ ศิริจินดาเลิศ ผู้จัดการแผนกผลิต บริษัท โอลิค(ประเทศไทย) จำกัด
- ภญ.ศุภณัฐ เตชะกัมพลสารกิจ ผู้จัดการแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด
- ศรัญญา สุรภาพวดี ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานดังนี้
ผู้บริหาร ประกันคุณภาพ ควบคุมคุณภาพ ผลิต วิศวกรรม ผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ/GMP และผู้สนใจทั่วไป
เภสัชกรที่เข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ จะได้ 10.5 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
รหัสกิจกรรม | ![]() | 2004-2-000-018-11-2566 |
ค่าลงทะเบียน
- สมาชิกสมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) 4,280บาท ( รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
)
- บุคคลทั่วไป 5,350 บาท ( รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
)
เลขที่บัญชี สำหรับโอนเงิน
ชื่อบัญชี สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาซอยทองหล่อบัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 042-282031-1
กำหนดการประชุม
8 พฤศจิกายน 2566
8:00 – 9:00 ลงทะเบียน
9:00 – 10:30 Process validation regulatory
requirements.
ภญ.วิไล กวีวงค์วรนันท
ผู้อำนวยการฝ่ายประกันคุณภาพ
บริษัท สยามเภสัช จำกัด
10:30 – 11:00 พักรับประทานอาหารว่างและชมการแสดงสินค้า
11:00 – 12:00 Quality by Design ( QbD) :
concept to practice
ดร.ภญ.นภาสินี อักษรแก้ว
Chief of formulation development , Pharma nueva CO,,Ltd
12:00 -13:00 พักรับประทานอาหารเที่ยงและชมการแสดงสินค้า
13:00 – 14:00 Application of QRM for process validation
ภญ.รุ่งนภา อัมรินทร์นุเคราะห์ ผู้จัดการโรงงาน บริษัท อินแพค ฟาร์มา จำกัด
14:00- 14:45 Multidisciplinary team for PV success factor
ภญ.วิไล
กวีวงค์วรนันท
14:45 – 15:15 พักรับประทานอาหารว่างและชมการแสดงสินค้า
15:15 – 16:15 Statistics in process validation and
trend analysis
ภญ.ฉวีวรรณ บุญเต็ม หัวหน้างานแผนกผลิต บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด
9 พฤศจิกายน 2566
09.00-10:30 Technology
transfer : establish scope and critical process parameter
ภญ.สิริวรรณ ศิริจินดาเลิศ ผู้จัดการแผนกผลิต บริษัท โอลิค (ประเทศไทย)จำกัด
ภก.ศุภณัฐ เตชะกัมพลสารกิจ
ผู้จัดการแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด
10:30-11:00 พักรับประทานอาหารว่างและชมการแสดงสินค้า
11:00-12:00 Technology transfer : strategic qualification of equipment
ศรัญญา สุรภาพวดี
ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม
บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด
ภญ.สิริวรรณ ศิริจินดาเลิศ
ผู้จัดการแผนกผลิต บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด
12:00 - 13:00 พักรับประทานอาหารเที่ยงและชมการแสดงสินค้า
13:00-14:45 Technology
transfer : process performance qualification and control strategy in product
commercialization
ภญ.สิริวรรณ ศิริจินดาเลิศ
ผู้จัดการแผนกผลิต บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด
ภก.ศุภณัฐ เตชะกัมพลสารกิจ
ผู้จัดการแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์
บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด
14:45 –15:15 พักรับประทานอาหารว่างและชมการแสดงสินค้า
15:15 - 16:15 Ongoing process verification during lifecycle
ภญ.ฉวีวรรณ บุญเต็ม
หัวหน้างานแผนกผลิต
บริษัท โอลิค (ประเทศไทย ) จำกัด