ลงทะเบียนประชุมวิชาการ
หลักการและเหตุผล
ภายหลังจากการประกาศโครงสร้างพันธุกรรมของไวรัสSARS-CoV2 แบบทั้งตัว (entire genome) เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563 ซึ่งเป็นระยะเพียงหนึ่งเดือนหลังจากที่มีการพบการติดเชื้อ SAR-CoV2 ในตลาดค้าสัตว์ป่า ในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน และเป็นที่มาของการเรียกไวรัสชนิดนี้ว่า “COVID-19” ตามปีคริสตศักราชที่ค้นพบเป็นครั้งแรก สัญญาณเริ่มต้นที่แม้จะเป็นการระบาดในจำนวนประชากรไม่มาก แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้บริษัทวัคซีนหลายแห่งเริ่มทำการวิจัยวัคซีนต้นแบบทันทีองค์การอนามัยโลกประกาศภาวะฉุกเฉินของ “การระบาดใหญ่ทั่วโลก” (Pandemic) ในวันที่ 11 มีนาคม 2563ซึ่งเป็นระดับเดียวกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ (Spanish flu) ในปี 1918 ที่ขณะนั้นมีผู้ติดเชื้อรวมทั่วโลก 500 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโลก ณ ขณะนั้น และมีผู้เสียชีวิตประมาณกว่า 40 ล้านคน ซึ่งนับว่าเป็นภัยพิบัติจากเชื้อโรคที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
หลังจากนั้นบริษัทวัคซีนต่างคิดค้นวัคซีนต้นแบบออกมาโดยใช้เทคโนโลยีทั้งที่เป็นแบบเทคโนโลยีดั้งเดิมที่เป็น Antigen-based vaccine platform อย่าง วัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccine) และ วัคซีนโปรตีน subunit/Viral-likeparticle และเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับกรดนิวคลินิค*Nucleic-based vaccine platform อย่าง DNA, mRNA และ Viral DNA vector vaccine ออกมา พร้อมกับการผลักดันเชิงนโยบายและการสนับสนุนด้านทุนวิจัยขององค์กรนานาชาติชั้นนำของโลก ผ่านโปรแกรม Warp Speed Operation และโปรแกรม COVAX facility เพื่อช่วยทำให้วัคซีน COVID-19 สามารถเข้าสู่กระบวนการทดสอบในมนุษย์และกลายเป็นวัคซีนที่สามารถยุติภัยพิบัตินี้ให้เร็วที่สุด สำหรับในประเทศไทยนั้น ตามที่คาดการณ์ ภายในปี 2564 จะมีวัคซีนที่ขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอย่างน้อย 7 บริษัท ได้แก่ Pfizer-BioNTech, AstraZenaca-Oxford, Sinovac, Sinopharm, Moderna,Novavax (Covovax-Serum institute of India) และ Johnson&Johnson
ดังนั้นการประชุมสัมมนาในครั้งนี้จึงมีขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สนใจสามารถเข้าใจกระบวนการสร้าวัคซีนต้นแบบ โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆที่ศูนย์วิจัยชั้นนำมีอยู่ และรับทราบข้อมูลใหม่ๆของวัคซีนในแง่มุมต่างๆ ทั้งข้อดีข้อเสียของวัคซีนแต่ละชนิด บทบาทของเภสัชกรต่อการผลิตและการนำวัคซีนไปใช้รวมถึงการประเมินข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัยของวัคซีนชนิดนั้นๆ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- เพื่อทราบและเข้าใจกระบวนการวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีน COVID-19 ต้นแบบ จนได้เป็นวัคซีนในระดับอุตสาหกรรม
- เพื่อให้ทราบบทบาทขององค์กรนานาชาติที่เกี่ยวกับกับการผลักดันวัคซีน COVID-19 ให้เข้าสู่ประชาชนภายในระยะเวลา 12-18 เดือน
- เพื่อให้เข้าใจกลไกการออกฤทธิ์ ข้อดีข้อเสียของแต่ละ vaccine platform
- เพื่อให้ทราบข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัยของวัคซีน COVID-19 ชนิดต่างๆ
วิทยากร : ศ.(พิเศษ ) ดร.ภญ.สุมนา ขมวิลัย
ผศ.ดร.ภญ.รจพร วัชโรทยางกูร
ดร.ภก.นรภัทร ปีสิริกานต์
ผู้ที่ควรเข้าประชุมสัมมนา ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานดังนี้
ผู้บริหาร ประกันคุณภาพ ควบคุมคุณภาพ ผลิต วิศวกรรม และผู้สนใจทั่วไป
เภสัชกรที่เข้าสัมมนาและผ่านการทดสอบ จะได้รับ 2.0 หน่วยกิต
ลงทะเบียน http://www.tipa.or.th สมาชิก TIPA ไม่มีค่าลงทะเบียน
กำหนดการ
9.30 - 9.55 น. ลงทะเบียน
9.55 - 10.00 น. นายกสมาคมเภสัชกรอุตสาหการประเทศไทย กล่าวเปิดงาน
10.00-12.00 น. Updates on COVID-19 vaccines:Technology platform, safety and efficacyevaluation
วิทยากรศ. (พิเศษ ) ดร.ภญ.สุมนา ขมวิลัย
ที่ปรึกษาการบริหารงานด้านคุณภาพและเทคโนโลยีการผลิตยาและชีววัตถุ
อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและเทคนิค สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
ผศ.ดร.ภญ.รจพร วัชโรทยางกูร
ผู้เชี่ยวชาญด้าน GMP และคุณภาพของชีววัตถุ
ดร.ภก.นรภัทร ปีสิริกานต์
รักษาการ ผู้อำนวยการ กองผลิตวัคซีนจากไวรัส องค์การเภสัชกรรม