TIPA-สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)

ลงทะเบียนประชุมวิชาการ

ขณะนี้ระบบลงทะเบียน online ได้ปิดรับการลงทะเบียนแล้ว
Webinar 12 Sustainable Separation: Advancement in SFC for a Greener Future Date Nov 21st, 10.00-12.00 Hr

ในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยในการพัฒนาเทคโนโลยีในการแยกสารสำคัญ การแยกสารด้้วยเทคนิคโครมาโตกราฟีด้วยของไหลวิกฤตยิ่งยวด (Supercritical Fluid Chromatography, SFC) ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนกระบวนการแยกสารสำคัญที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม SFC ใช้ของไหลวิกฤตยิ่งยวดเป็นเฟสเคลื่อนที่ ทำให้กระบวนการแยกสารมีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวดเร็วขึ้น และลดการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย ด้วยประโยชน์ที่โดดเด่นเหล่านี้ SFC เริ่มได้รับความนิยมและถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นทางการแพทย์ ทางเคมีและเภสัชกรรม สามารถแยกได้ทั้งสารสำคัญจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สารสังเคราะห์ และรวมถึงสารกลุ่มไครัลและอะไครัล (chiral and achiral compounds) ซึ่งการเข้าใจและทราบถึงประโยชน์จาก SFC จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแยกสารสำคัญ และยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวิจัยและพัฒนา โดยมุ่งเน้นที่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการปรับปรุงความยั่งยืนในกระบวนการแยกสารสำคัญ

            ในงานสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้ ผู้เข้าฟังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการและพื้นฐานเทคนิคการแยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิค SFC รวมถึงขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาของ SFC และการนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์การจัดงาน: เพื่อให้ผู้เข้าร่วมรับฟังเรียนรู้เทคนิคและนำประโยชน์จากเทคโนโลยีการแยกสารมาประยุกต์ใช้รวมถึงต่อยอดงานวิจัยทางการแยกสารสำคัญ โดยจะก่อให้เกิดประโยชน์ในวงการเภสัชกรรมของประเทศไทยต่อสมุนไพรไทย

วิทยากรบรรยายการอบรม: Mr. Manish Tharkur

                                             SEA Technique Product Specialist Support at BÜCHI Labortechnik AG

                                             (More than 10 years’ experience in BUCHI chromatography segment) 

ผู้เข้าอบรมที่ควรเข้าร่วมประชุม:      สาขาวิชาเภสัชเคมี, สาขาวิชาเภสัชเวท, สาขาวิชาเภสัชวิเคราะห์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม

  •  เภสัชกรที่เข้าฟังสัมมนาและผ่านการทดสอบ จะได้รับ 2 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง

รหัสกิจกรรม2004-2-000-022-11-2567