ลงทะเบียนประชุมวิชาการ
วิทยาลัยเภสัชกรรมอุตสาหการแห่งประเทศไทย
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
การฝึกอบรมระยะสั้น
หลักสูตรประกาศนียบัตรทางเภสัชกรรมอุตสาหการ สาขาการตรวจสอบความถูกต้อง
(Short Course Training Program in Industrial Pharmacy)
Certificate in Pharmacy (Validation)
สถานที่: สภาเภสัชกรรม อาคารมหิตลาธิเบศร
ชั้น 8 กระทรวงสาธารณสุข
เลขที่ 88/19 หมู่ 4 ถนนติวานนท์
ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
วันเสาร์ที่ 22 เมษายน 2566 – วันอาทิตย์ที่
27 สิงหาคม 2566
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ผู้ผลิตยาต้องมีความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ยาที่ผลิตมีความเหมาะสมสำหรับจุดมุ่งหมายในการใช้
ถูกต้องตามข้อกำหนดในทะเบียนตำรับยาหรือตามการอนุญาตทดสอบผลิตภัณฑ์ยาในมนุษย์
และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคอันเนื่องจากผลิตภัณฑ์ยาไม่มีคุณภาพ
ประสิทธิศักย์ หรือความปลอดภัยเพียงพอ
เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้อย่างน่าเชื่อถือ ผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง
การกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบันและแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา
พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งได้มีการระบุถึงกิจกรรม การตรวจสอบความถูกต้อง
ผู้ผลิตต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการของการตรวจสอบความถูกต้อง ที่ใช้กับสิ่งอํานวยความสะดวก เครื่องมือ ระบบสนับสนุนการผลิต
และกระบวนการในการผลิต ผู้ผลิตต้องควบคุมประเด็นสําคัญของการดําเนินการผ่านการตรวจสอบความถูกต้องตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
การวางแผนเปลี่ยนแปลงที่มีต่อสิ่งอํานวยความสะดวก เครื่องมือ ระบบสนับสนุนการผลิต
และกระบวนการ
ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ต้องจัดทําเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการ และทําการประเมินผลกระทบต่อสถานะของการตรวจสอบความถูกต้องหรือประเมินกลยุทธ์การควบคุม
รวมถึงระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องด้วย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมในหลักสูตรนี้
· เข้าใจและเรียนรู้หลักการ
และกระบวนการการตรวจสอบความถูกต้องกับสิ่งอํานวยความสะดวก
เครื่องมือ ระบบสนับสนุนการผลิต และกระบวนการในการผลิตผลิตภัณฑ์ยา
· เข้าใจและสามารถดำเนินการจัดการและวางแผนการตรวจสอบความถูกต้อง
· สามารถจัดทำเอกสารแผนแม่บทการตรวจสอบความถูกต้อง
· สามารถประเมินผลกระทบต่อสถานะการตรวจสอบความถูกต้องและกลยุทธการควบคุมจากการวางแผนการเปลี่ยนแปลงสิ่งอํานวยความสะดวก
เครื่องมือ ระบบสนับสนุนการผลิตและกระบวนการ
· สามารถดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง ในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการ,
การตรวจสอบความถูกต้องของการทำความสะอาด, การตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์, การตรวจสอบยืนยันการขนส่ง,
การตรวจสอบความถูกต้องของการบรรจุหีบห่อ และการตรวจสอบความถูกต้องของระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์
· สามารถจัดการการตรวจสอบความถูกต้องอย่างเป็นระบบ
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการอบรม
· เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
· ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ
ไม่ต่ำกว่า 2 ปี
· ไม่เคยถูกลงโทษในคดีทางจรรยาบรรณในระยะเวลา
2 ปีก่อนจะสมัครเข้ารับการอบรม
เภสัชกรที่เข้ารับการอบรมและสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้
30 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
·
ปิดรับลงทะเบียน
วันที่ 10 เมษายน 2566
·
รับจำนวนจำกัด 25 คน
การวัดผลการฝึกอบรม ประกอบด้วย
· การประเมินผลระหว่างการฝึกอบรม และ
· การนำเสนอผลการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
และ/หรือ
· การสอบข้อเขียน และ/หรือ
· การประเมินทักษะการปฏิบัติงาน
การสำเร็จการฝึกอบรม
ผู้เข้าอบรมจะต้องผ่านการประเมิน
ดังต่อไปนี้
· ได้รับคะแนนจากการประเมินผลระหว่างการฝึกอบรมและการนำเสนอผลการปฏิบัติงาน
ตามที่ได้รับมอบหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
· ได้รับคะแนนการสอบข้อเขียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
· ได้รับคะแนนการประเมินทักษะปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าร้อยละ
70
· ไม่มีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือมีมลทินมัวหมองในเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพในระหว่างการฝึกอบรม
ประกาศผลการฝึกอบรม
วันที่ 20
ตุลาคม 2566
ค่าอบรมตลอดหลักสูตร
26,750 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
ชำระค่าลงทะเบียน
บัญชี สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาทองหล่อ
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 042-2-82031-1
ผู้ที่สำเร็จการฝึกอบรมประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม
สาขาการตรวจสอบความถูกต้อง
·
ได้รับ 30 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง จากสภาเภสัชกรรม
·
เป็นผู้ยื่นคำขอประกาศนียบัตร
สภ.33 ผ่านระบบ E- service www.pharmacycouncil.org และชำระค่าธรรมเนียมออกใบประกาศนียบัตรตามที่สภาเภสัชกรรมกำหนด