ลงทะเบียนประชุมวิชาการ
หลักการและเหตุผล
กระบวนการผลิตภัณฑ์ยา อาจมีความเสี่ยงในการปนเปื้อนของตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้างในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย
เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค จึงมีการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นพิษน้อยในระหว่างการผลิตยา
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ตัวทำละลายอินทรีย์ที่ตกค้างเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการควบคุมคุณภาพยา
การเลือกวิธีการวิเคราะห์และสารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์ตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้างให้เหมาะสม
ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
ปัจจุบันการวิเคราะห์ตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้างตามแนวทาง ICH Q3C ( R8 ) ( International Conference on Harmonization of Technical
Requirements for Registration of Pharmaceuticals for Human Use )แบ่งตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้างตามระดับความเป็นพิษ
4 ระดับ คือ Class 1:
solvents to be avoid Class 2: solvents to be limited , Class 3 :solvents
with low toxic potential และ solvents for which no adequate
toxicological data was found โดยในการวิเคราะห์ตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้าง Class 1-3 สามารถใช้การวิเคราะห์ GC-FID ได้
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีคอลัมน์ GC ชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงคอลัมน์เดียวที่สามารถแยกสารอินทรีย์ระเหยง่ายทั้งหมดออกจากกันได้
ด้วยเหตุนี้ วิธีการวิเคราะห์ที่ระบุไว้ใน USP และ EP จึงอธิบายถึงการใช้คอลัมน์
GC หลายรูปแบบที่มีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกัน
ผู้วิเคราะห์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลของวิธีการและวัสดุอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์ที่เหมาะสมถูกต้องตามข้อกำหนด
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
·
เพื่อเรียนรู้วิธีการการวิเคราะห์และหาปริมาณตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้างในกระบวนการผลิตภัณฑ์ยา
·
เพื่อทำความเข้าใจถึง ข้อดี และข้อจำกัด
ของวิธีการต่างๆที่ใช้วิเคราะห์และหาปริมาณ ตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้าง
·
เพื่อเรียนรู้วิธีการใช้วัสดุอ้างอิงเป็นมาตรฐานภายในและวัสดุอ้างอิงสำหรับการสอบเทียบในการวิเคราะห์ตัวทำละลายอินทรีย์ตกค้าง
ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม
บุคลากรที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานใน ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายควบคุมคุณภาพ
หรือผู้เกี่ยวข้องในการจัดซื้อ จัดหาผลิตภัณฑ์ที่ใช้การการตรวจสอบคุณลักษณะของยาต้นแบบ
(characterization)
เภสัชกรจะได้รับ 1.5 CPE credit
รหัสกิจกรรม | ![]() | 2004-2-000-004-04-2568 |
วิทยากร : 1) M. James Ross, Ph.D.
Global Francine Manager,
Millipore Sigma, United state of America
2) Wattanapong
Sittisaree, Ph.D.
Solution Scientist, Merck
Life science, Thailand and Indochina