TIPA-สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)

ลงทะเบียนประชุมวิชาการ

ขณะนี้ระบบลงทะเบียน online ได้ปิดรับการลงทะเบียนแล้ว
ประชุมวิชาการ ครั้งที่ 6 / 2567 เรื่อง Cleaning validation : principles and implementation วันพุธที่ 11-วันพฤหัสที่ 12 กันยายน 2567

หลักการและเหตุผล

          การตรวจสอบความถูกต้องของการทำความสะอาด ต้องดำเนินการเพื่อยืนยันประสิทธิผลของวิธีการทำความสะอาดสำหรับเครื่องมือที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ ว่ามีความสะอาดพร้อมใช้สำหรับการใช้งานครั้งต่อไป กระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง เริ่มตั้งแต่การพัฒนาวิธีการทำความสะอาด ( cleanability study )เพื่อศึกษา วิธีการที่เหมาะสมในการขจัด ผลิตภัณฑ์ สารทีใช้ทำความสะอาด และ จุลินทรีย์ ทีตกค้าง สำหรับเป็นข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอสอบความถูกต้อง  เพื่อให้ครอบคลุมถึงเครื่องมือและรูปแบบของกระบวนผลิต อาจจัดแบ่งเป็นกลุ่มของเครื่องมือประเภทเดียวกันที่ใช้ร่วมกัน  หรือใช้รูปแบบการผลิตในการจัดแบ่งกลุ่ม ในลักษณะ Bracketing หรือ matrixing โดยใช้การประเมินความเสี่ยงในการพิจารณาตัวแทนจากกลุ่มที่เป็น worst case ในการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง เช่น ความสามารถในการละลาย ความสามารถในการทำความสะอาด ความเป็นพิษ และความแรงของยา   การตรวจสอบความสะอาดด้วยสายตาเป็นส่วนสำคัญในเกณฑ์การยอมรับ แต่ไม่สามารถใช้เป็นเกณฑ์ยอมรับตามลำพังต้องมีเกณฑ์อื่นประกอบด้วย ได้แก่ ขีดจำกัดยอมรับผลิตภัณฑ์ และหรือสารทำความสะอาดที่ตกค้าง ต้องประเมินทางพิษวิทยา ( maximum safe carryover; MSC )   ส่วนการตรวจสอบสารตกค้างของโมเลกุลบำบัดขนาดใหญ่และเปปไทด์ไม่ต้องประเมินทางพิษวิทยาเนื่องจากเสื่อมสภาพไปจากการใช้ กรด ด่าง หรือความร้อนในการทำความสะอาด และขีดจำกัดการยอมรับของสารตกค้างในการผลิตครั้งต่อไป (  maximum allowable carryover ; MACO ) การเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบเช่น การ swab และหรือ rinsing หรือวิธีอื่น ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้ในการกาผลิต วัสดุที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างและวิธีการเก็บตัวอย่างต้องไม่มีผลกระทบกับผลการตรวจสอบ และต้องแสดงให้เห็นว่าวิธีการตรวจสอบนั้นมีความสามาถในด้าน recovery test

          การผลิตยาปราศจากเชื้อ ต้องพิจารณาความเสี่ยงจาการปนเปื้อนจุลินทรีย์ และเอ็นโดท็อกซิน / ไพโรเจนต้องกำหนดในโปรโตคอลของการตรวจสอบความถูกต้องของการทำความสะอาด

          การตรวจสอบสารตกค้างที่ไม่สามารถตรวจสอบแบบจำเพาะ อาจใช่วิธีอื่น เช่น total organic carbon ( TOC ) และ conductivity      

 วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective)

·      เพื่อเรียนรู้และเข้าใจข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของการทำความสะอาด

·      เพื่อเรียนรู้และเข้าใจพิษวิทยาที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของการทำความสะอาด

·      เพื่อเรียนรู้แนวทางปฏิบัติในการจัดกลุ่มเครื่องมือ และ หรือรูปแบบการผลิต

·      เพื่อเรียนรู้แนวทางปฎิบัติการการคำนวณเกณฑ์ยอมรับ MACO and MSC

·      เพื่อเรียนรู้และเข้าใจการกตรวจสอบ แบบ specific and non specific

·      เพื่อเรียนรู้และเข้าใจวิธีการสุ่มตัวอย่าง และ recovery test

·      เพื่อนำความเห็นและมุมมองของผู้ตรวจประเมิน GMP ไปปรับใช้ในการตรวจสแบความถูกต้องของการทำความสะอาด 

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม

·       ผู้บริหาร ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ  ฝ่ายผลิต  ฝ่ายตรวจสอบความถูกต้อง ผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ / GMP  ผู้บริการจำหน่ายเครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของการทำความสะอาด  และผู้สนใจ 

ระยะเวลาการฝึกอบรม

วันพุธที่ 11-วันพฤหัสที่ 12 กันยายน 2567  เวลา 8:30 -17:00 น.

   สถานที่   โรงแรมแรมแบรนท์ สุขุมวิท 18  กรุงเทพฯ 

รหัสกิจกรรม2004-2-000-016-09-2567

เภสัชกรที่เข้าอบรม จะได้  11 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง

ค่าลงทะเบียน 

ภายในวันที่ 20 สิงหาคม  2567           สมาชิก  TIPA  คนละ   4,280 บาท  (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม )  

          บุคคลทั่วไป     คนละ    5,350 บาท   (รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ) 

 ตั้งแต่ 21 สิงหาคม  2567                   สมาชิก  TIPA  คนละ  4,815 บาท  (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม )  

            บุคคลทั่วไป   คนละ   5,885 บาท   (รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ) 

   เลขที่บัญชี สำหรับโอนเงิน

ชื่อบัญชี สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาซอยทองหล่อ
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 042-282031-1

ปิดรับลงทะเบียน  วันที่ 6  กันยายน  2567 

11 September 2024

8.55 -9.00

Welcome to seminar

ภญ.รุ่งนภา อัมรินทร์นุเคราะห์

นายกสมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)

9.00-10.30

Principle of Cleaning Validation and regulatory requirements

ผศ. ดร. ภญ. รจพร วัชโรทยางกูร

วิทยาลัยเภสัชกรรมอุตสาหการแห่งประเทศไทย

10.30-11.00

Refreshment

11.00-12.00

Disinfectant Validation

ผศ. ดร. ภญ. รจพร วัชโรทยางกูร

วิทยาลัยเภสัชกรรมอุตสาหการแห่งประเทศไทย

12.00-13.00

Lunch

13.00-14.00

Grouping/ family approach: Product grouping and equipment grouping

ภญ. ฉวีวรรณ บุญเต็ม

หัวหน้างานอาวุโสฝ่ายผลิต

บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด

14.00-15.00

Sampling and recovery test

ผศ. ดร. ภก. ณัฐวุฒิ เจริญไทย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ผศ. ดร. ภก. จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ผศ. ดร. ภญ. รติยา คูเขตพิทักษ์วงศ์

ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายธุรกิจอุตสาหกรรม

บริษัท โกลบอล ไบโอเทค โปรดัคส์ จำกัด

15.00-15.30

Refreshment

15.30-16.30

Sampling and recovery test (cont’d)

ผศ. ดร. ภก. ณัฐวุฒิ เจริญไทย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ผศ. ดร. ภก. จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ผศ. ดร. ภญ. รติยา คูเขตพิทักษ์วงศ์

ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายธุรกิจอุตสาหกรรม

บริษัท โกลบอล ไบโอเทค โปรดัคส์ จำกัด

12 September 2024

9.00-10.00

Health Based Exposure Limits (HBELs)

รศ. ดร. ภญ. สุรีย์ เจียรณ์มงคล

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

10.00-10.30

Refreshment

10.30-11.15

Practical cleaning validation: HBEL approach

ภญ. ไพลิน พัดชากุล

บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ เฮลแคร์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด

11.15-12.00

การคำนวณ MACO & Maximum safe carryover (MSC) ทาง Therapeutic & HBELs (1)

ภก. ปิยบุตร ทรัพย์สุขสมุทร

ผู้จัดการฝ่ายผลิต

บริษัท ที.โอ.เคมีคอลส์  (1979) จำกัด สาขาปทุมธานี

12.00-13.00

Lunch

13.00-13.30

การคำนวณ MACO & Maximum safe carryover (MSC) ทาง Therapeutic & HBELs (2)

ภก. ปิยบุตร ทรัพย์สุขสมุทร

ผู้จัดการฝ่ายผลิต

บริษัท ที.โอ.เคมีคอลส์  (1979) จำกัด สาขาปทุมธานี

13.30-15.00

Method of analysis (non-specific and specific method)

ภญ. เกศินี แสงจันทร์

ผู้จัดการคุณภาพ

บริษัท อาร์เอ็กซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

 

ภญ. ชนิตา บวรศักดิ์สิทธิ์

ผู้จัดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

บริษัท อาร์เอ็กซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

15.00-15.30

Refreshment

15.30-16.30

FDA perspective on cleaning validation: expectation and most common deficiencies

ภญ. อชิรญา ไพรสุวรรณ

รองหัวหน้างานตรวจประเมินสถานที่ผลิตยา

รักษาราชการแทนหัวหน้างาน

ตรวจประเมินสถานที่ผลิตยา

กองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา